สแลนกรองแสงที่ขายตามท้องตลาดมีมากมายหลากหลายให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นสีดำ สีเขียว ความหนา 50% 60% 70% 80% หลายคนคงอยากรู้ว่าสแลนกรองแสงแต่ละประเภทต่างกันยังไง? ต้องเลือกสแลนกรองแสงแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน? วันนี้มีคำตอบมาให้แล้ว
ประเภทของสแลนกรองแสง
สำหรับประเภทของสแลนกรองแสงสามารถแบ่งได้หลากหลาย ทั้งการแบ่งจากรูปแบบการผลิต ประเภทการใช้งาน สีและการกรองแสง
- สแลนกรองแสงแบบถัก
สแลนแบบถักจะผลิตมาจากเม็ดพลาสติกโพลีเอททีลีนที่มีความหนาแน่นสูง ใช้กระบวนการผลิตโดยการถักเป็นเส้นลักษณะตาข่ายถี่ๆ ส่วนมากสแลนแบบถักตัวสแลนจะมีการเคลือบสารป้องกันรังสี UV เพื่อเพิ่มความคงทนให้กับผลิตภัณฑ์ สแลนแบบถักจะมีน้ำหนักที่เบา ไม่ขาดง่าย แข็งแรง แต่ไม่ค่อยยืดหยุ่น
- สแลนกรองแสงแบบทอ
สแลนแบบทอผลิตมาจากพลาสติกโพลีเอททีลีน ความหนาแน่สูง ใช้กระบวนการทอในการผผลิต ทำให้หนักเบามากกว่าสแลนแบบถัก ทิ้งตัวดี มีความยืดหยุ่นสูง แต่ความแข็งแรงจะไม่เทียบเท่ากับตัวสแลนแบบถัก
ประโยชน์ในการใช้งานของสแลนแต่ละสี
สีของสแลนจะเป็นมีความสามารถในการสะท้อนและตัดทอนคลื่นแสงที่มาจากดวงอาทิตย์ตามสีของตัวสแลนเอง และสแลนแต่ละสีก็มีความสามารถเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป
- สแลนกรองแสงสีเขียว
มีความสามารถในการสะท้อนและตัดทอนคลื่นแสงสีเขียวที่มาจากดวงอาทิตย์ กันรังสี UV ได้ดี เหมาะกับการใช้ในการอนุบาลต้นกล้า เนื่องจากต้นกล้ายังไม่มีความแข็งแรงมากพอในการโดนแสงอาทิตย์โดยตรง และสแลนสีเขียวยังไม่ตัดทอนคลื่นแสงสีแดงและน้ำเงินที่สำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของต้นกล้าอีกด้วย ใช้มุงหลังคาเพื่อกันแดดได้ดี
- สแลนกรองแสงสีดำ
สำหรับสแลนสีดำจะไม่มีการสะท้อนหรือตัดทอนคลื่นแสง แสงที่ผ่านสแลนจะเป็นแสงที่ขาวตามปกติ แต่ความสามารถพิเศษของสแลนสีดำจะเป็นการตัดความยาวของคลื่นแสงไม่ให้แสงอาทิตย์ที่แรงเกินไปตรงไปทำร้ายกับต้นไม้หรือพืชผลการเกษตร อีกทั้งสแลนสีดำยังทำหน้าที่ดูดซับ กักเก็บแสง และกักเก็บความร้อนได้มากกว่าสแลนสีอื่นๆ นั่นหมายความว่าสแลนสีดำเมื่อใช้ในระยะเวลาที่ยาวก็จะเกิดการเสื่อมคุณภาพเร็วว่าสีอื่นๆ เช่นกัน
เลือกความหนาของสแลนกรองแสงให้เหมาะกับการใช้งาน
- ความหนา 50%
เหมาะกับความการใช้ในการทำสวนทั่วไป พืชต้องการแสงที่มากแต่เจอกับแดดจัดไม่ได้
- ความหนา 60%
เหมาะสำหรับใช้ในการกรองแสงในแปลงปลูก ส่วนมากจะเหมาะกับการใช้สำหรับพืชที่ชอบแสงแดดรำไร
- ความหนา 70%
เหมาะสำหรับมุงหลังคาบังแดด สำหรับพืชเรือนกระจกที่ไม่ต้องการแสงแดดจัดแต่ยังคงต้องมีกระบวนการสังเคราะห์แสงอยู่
- ความหนา 80%
เหมาะกับการใช้เป็นฉนวนกันความร้อน มุงหลังคาบังแดด หรือใช้มุงสำหรับพืชที่ไม่ชอบแสงก็สามารถทำได้เช่นกัน
การเลือกใช้สแลนกรองแสงในการทำการเกษตรเป็นอีกทางที่ช่วยให้คุณลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลพืชผลของคุณให้มีคุณภาพ ลดความเสี่ยงที่พืชจะเกิดการเสียหายจากแมลงหรือสภาวะภายนอกได้